วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

เกาะเกร็ด Koh Kred

เกาะเกร็ด Koh Kred





วัดไผ่ล้อม

การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม Culture Tourism


วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลาย หน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์ รูปทรง แปลก ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง แต่องค์ระฆังทำเป็นรูปบาตรคว่ำ มียอดทรงกลม ประดับลายปูน ปั้นอย่างสวยงามมาก คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้"







วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร



การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม Culture Tourism



วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระทรงโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง"วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงาม




วิถีชีวิตชาวมอญในเกาะเกร็ด


การท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสชาติพันธ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น Ethic Tourism

วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนชาวมอญ คือมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ มีความชำนาญงานฝีมือด้านงานปั้นดินเผา ประเภทเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ โอ่ง อ่าง หม้อน้ำมีหลายขนาดตกแต่งแบบเรียบง่าย หรืออาจมีการแกะสลักลวดลายบ้างเล็กน้อย ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกในครอบครัวและชุมชน กอปรกับพื้นที่บริเวณเกาะเกร็ดมีแหล่งดินที่เหมาะสมต่อการทำเครื่องปั้นดินเผา จึงทำให้การสืบทอดความรู้นี้ยาวนานจนถึงลูกหลานชาวไทยเชื้อสายมอญในปัจจุบัน

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปจาก Lecture บทที่2

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น ถึงช่วงหวัลสงครามครั้งที่ 2

การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถจะสืบย้อนไปถึงสมัยที่ยังมีอณาจักร Babylonian และอณาจักร Egyptian หลักฐานที่มีสนับสนุนคือได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ (historic antiguites) เมื่อประมาณ 2,600 มาแล้ว ชาวอียิปต์ก็มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนาซึ่งดึงดูดทั้งผู้ที่มีความเลื่อมใสและผู้ที่เพียงอยากมาชมตึกราม เมื่มีคนมาเที่ยวชมจำนวนมาก ทำให้เกดการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆที่เกิดขึ้น ส่วนของนักท่องเที่ยวก็มีการทำให้ผนังหรือสิ่งก่อสร้างเสียหายด่วยการเขียนข้อความเพื่อแสดงหลักฐานการมาเยือนลงไป มีการค้นพบข้อความที่นักเดินทาง ชาวอียิปต์บันทึกไว้เมื่อ 2000 ปี นักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวกรีกจะนิยมเดินทางไปยังสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของทพเจ้าที่ทำการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากกรีกมีการปกครองในปแบบนครรัฐ (City State) ที่เป็นอิสระต่อกัน นักท่องเที่ยวาส่วนมากจะเดินทางทางเรือ ช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล กรุงวเอเธนส์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าชมสถานที่สำคัญ

ชาวโรมันก็มีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 แก่อนคริสตกาล ชาวโรมันในกรุงโรมนิยมเดินทางไปพักร้อนยังบ้านพักร้อน ชาวโรมันเดินทางไปพักร้อนยังเมืองปอมเปอี เมื่อ 80 ปีก่อน จากการจุดค้นทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชาวโรมันและชาวปอมเปอีมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมากจึงสามารถสร้างบ้านเรือนขึ้นอย่างสวยงามและมีร่องรอยของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ของที่ระลึกที่เป็นนิยามของชาวโรมันโบราณ คือ ภาพวาดของจิตรกรที่สำคัญๆ
มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆหนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย ประกอบด้วยรายชื่อที่พักพร้อมสัญลักษณ์บอกเกรดของที่พักเหล่านั้น



การท่องเที่ยวในยุคกลาง คศ. 500-1500

Coloseum

เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนนชีวิตของผู้คน วันหยุด เริ่มเข้ามีบทบาทมากขึ้นซึ่งหมายถึงการหยุดพักจาการทำงาน ไม่ไปไหนมาไหนและใน 1 ปี มีวันหยุดทางศาสนามากขึ้น คนชั้นสุงและคนชั้นกลางนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญในระยะทางไกลในเมืองต่างๆตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury's tales แต่ปัญหาที่นักเดินทางต้องเจอคือ โจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นนักเดินทาง มัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง และเป็นทั้งนักปกป้องนักเดินทางด้วย มัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงได้รับค่าจ้างสูง ผลของการเดินทางเพื่อแสวงบุญมี 3 ประเด็นคือ

  1. มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แก่การแสวงบุญ
  2. ผลการเดินทา'มีความสำคัญและความหมายทางด้สนจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต
  3. ผู้แสวงบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของของที่ระลึก

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

Renaissance Italy




Leaning Tower of Pisa Italy

ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว (Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได้


สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ การโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก (Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน


ยุคศตวรรษที่ 20


การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุป บทที่1 จากการ Lecture


























บทที่1 ความสำคัญของการท่องเที่ยว



การท่องเที่ยวคืออะไร? อธิบายต่างๆ นาๆ


  • การเดินทาง
  • การทำกิจกรรม
  • ชาวต่างชาติสะพายเป้
  • การนอนอาบแดด ฯลฯ
  • การกำเนิดการท่องเที่ยวเกิดขึ้นเมื่อ"ยุคเฮโรโดตัส"
  • พลานขุม เป็นผู้ค้นพบ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
  • Holloway J. Christopher กล่าวถึงการท่องเที่ยวไว้ว่า "พูดยาก"
  • การที่จะรู้จุดประสงค์และระยะทางของการเดินทาง

การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี พ.ศ.2506
องค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (The International Union of Official Travel organizations: IUOTO) เมื่อปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การท่องเที่ยวโลก(World Tourism Organization, WTO ) ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้

  1. การเดินทางจากที่อยู่อาศัยไปยังที่อื่นเป็นชั่งคราว


  2. การเดินทางด้วยความสมัครใจ


  3. การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่มิใช้เป็นการประกอบอาชีพหรือหารายได้


    ตัวอย่างการท่องเที่ยว ได้แก่



  • การเดินทางเพื่อการแสวงบุญ


  • การเดินทางเพื่อการพักฝื้น


  • การเดินทางร่วชมการแข่งขันกีฬากอล์ฟที่ต่างประเทศ


  • การเดินทางเพื่อการประชุมต่างๆหรือเยี่ยมญาติ มิตร เป็นต้น



ตัวอย่างการเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว ได้แก่


  • การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ


  • การเดินทางไปประกอบอาชีพ หรือไปทำงาน ต่างประเทศ


  • การเดินทางโดยไม่เต็มใจ อาทิการเดินทางด้วยการถูกบังคับ ล่อลวง ขู่เข็ญ ลี้ภัยทางการเมือง

จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506(Holloway J. Christopher) ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน(Visitor) ซึ่งจำแนกเป็น

  1. นักท่องเที่ยว (Tourist) คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้เวลาว่าง (เพื่อกิจกรรมนันทนาการ สุขภาพ การกีฬา วันหยุด การศึกษาหรือศาสนา) หรือเพื่อประกอบธุรกิจ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง ปฏิบัติภารกิจบางอย่างหรือการประชุม

  2. นักทัศนาจร (Excursionist) คือ ผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ สถานที่ที่ไปเยี่ยมเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง รวมถึงผู้เดินทางโดยเรือสำราญ (Cruise Travellers แต่ไม่รวมผู้โดยสารผ่าน Transit)

การเดินทางของผู้เยี่ยมเยือนหรือ Visitor แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. ผู้มาเยือนขาเข้า (inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
  2. ผู้มาเยือนขาออก (outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
  3. ผู้มาเยือนภายในประเทศ (domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่

วัตถุประสงค์การท่องเที่ยว






  1. การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน(Holiday) คือ การเดินทางที่จุดมุ่งหมายในการพักผ่อน เที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยว หรือ เยี่ยมญาติ
    (Visiting Friends and Relatives: VFR) ซึ่งจะทำกิจกรรมที่ไม่จำเจจากการทำงาน







  2. การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business) คือ การเดินทางเพื่อโดยทั่วไป หรือ การเดินทางเพื่อไปประชุมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ( MICE )







  3. การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism) คือ การเดินทางในการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่นนักท่องเที่ยวต้องการที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ ในระดับที่ลึก เป็นต้น

อ้างอิง

  1. ยุคเฮโรโดตัส
  2. Holloway J. Christopher
  3. พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Phuket Fantasea









ภูเก็ตแฟนตาซี Phuket Fantasea




ข้อมูลกิจกรรม








ภูเก็ตแฟนตาซี (Phuket FantaSea) ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่า และมีเอกลักษณ์ ภูเก็ตแฟนตาซีอบอวลไปด้วยมนต์เสน่ห์และความงามของเมืองไทย ผสานกับสุดยอดเทคโนโลยีล้ำยุค และเทคนิคพิเศษตระการตาระดับโลก อาณาจักรแห่งวัฒนธรรมบันเทิงที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 350 ไร่ เต็มไปด้วยกิจกรรมและความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ อาทิ หมู่บ้านหรรษา - เพลิดเพลินไปกับศูนย์เกมส์ ขบวนพาเหรดหลากสีสัน ศูนย์รวมสินค้าที่ระลึกจากทั่วทุกภาคของไทย และสินค้าอื่นๆ อีกมาก, ภัตตาคารมโนห์ราทอง ภายในอาณาบริเวณสามารถรองรับแขกได้มากถึง 4,000 ที่นั่ง เสิร์ฟบุฟเฟ่ต์อาหารไทยและนานาชาติเลิศรส, โรงละครวังไอยรา สถานที่จัดการแสดงชุดใหญ่สไตล์ลาสเวกัส อันอลังการน่าตื่นตาตื่นใจ ด้วยเทคโนโลยีและเทคนิคพิเศษ ล้ำสมัย ภายใต้บรรยากาศของความน่าพิศวง ความอัศจรรย์ และความลึกลับ





โรงละครวังไอยรา โรงละครขนาดมหึมา ความจุ 3,000 ที่นั่ง กับการแสดงที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ ผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมและมายากลลวงตาที่เหนือความคาดหมาย ไว้ได้อย่างลงตัว

การแสดงมหัศจรรย์กมลา สุดยอดโชว์สไตล์ลาสเวกัส ที่ผสมผสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยประยุกต์เข้ากับ เทคนิคเมจิกอิลลูชั่นส์ ระบบ 4 มิติพิศวง การแสดงบัลเล่ต์กลางเวหา กายกรรม ระเบิดเพลิง สเปเชียลเอฟเฟคส์ คาราวานช้าง และการแสดงผาดโผน พิเศษสุดกับการเสกช้างให้ปรากฏและหายไปกับตา ต่อหน้าสักขีพยานนับพัน
โปรแกรมท่องเที่ยวภูเก็ตแฟนตาซี

17.30 น. เวลาเปิดเข้าชมปาร์ค
18.00 น. รับประทานอาหารค่ำแบบบุฟเฟต์
20.30 น. ประตูเริ่มเปิดให้เข้าชมการแสดงมหัศจรรย์กมลา
21.00 น. การแสดงเริ่ม
23.30 น. - การแสดงสิ้นสุด- ส่งท่านเดินทางกลับสู่ที่พักโดยสวัสดิภาพ
อ้างอิง

สรุปเรื่อง 395 ปี บันทึกของปินโต


395 ปี บันทึกของปินโต : หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
395 Years Pinto’s Pérégrinação : an Account of Historiography or Adventurous Novel




ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า
(Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่าง ค.ศ. 1509-1512ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียใน ค.ศ. 1538 ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน


โปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação” ถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583

ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อน ค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช

หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1
บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา
ใน ค.ศ. 1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. 1537-1558”
อ้างอิง